product

Vaccine

Inactivated Vaccine หรือวัคซีนชนิดเชื้อตาย

หลังจากจำแนกและระบุชนิดของเชื้อด้วยวิธีการทางจุลชีววิทยา ทำให้สามารถระบุระดับความรุนแรงและเชื่อมโยงกับความสามารถในการก่อให้เกิดโรค จากนั้นจึงเลือกเชื้อที่เหมาะสม มาทำให้เชื้อตายด้วยสารเคมีหรือความร้อน เมื่อสัตว์ได้รับวัคซีนเชื้อตายจะสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ ทั้งแบบ ชนิดสารน้ำ (Humoral immunity) และชนิดเซลล์ (Cellular immunity) มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันโรคในสัตว์น้ำ วัคซีนชนิดเชื้อตาย ควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคซิส (Streptococcosis) จากผลการใช้วัคซีนจริงในหลายพื้นที่ของประเทศไทย พบว่าสามารถป้องกันโรคเสตรปโตคอคโคซิสทั้งในปลานิลดำและปลานิลแดงได้เกิน 80% และครอบคลุมสายพันธุ์เชื้อที่แพร่ระบาดในไทย จึงทำให้ใช้ได้ทั่วไป สามารถคุมโรคได้มากกว่า 120 วัน มีความคงที่ของประสิทธิภาพในช่วงการทดสอบปี  2015 และ 2021 ในทุกพื้นที่ที่ทดสอบฉีด 1 ครั้งมีประสิทธิภาพถึง 89.96% สามารถป้องกันโรคสเตรปโตคอคโคซิสได้ถึง 2 สายพันธุ์ผลพลอยได้คือปลาที่ได้รับวัคซีนมีอัตราการเจริญเติบโตดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

Kannika K, Sirisuay S, Kondo H, Hirono I, Areechon N, Unajak S. Trial Evaluation of Protection and Immunogenicity of Piscine Bivalent Streptococcal Vaccine: From the Lab to the Farms. Vaccines. 2022; 10(10):1625. https://doi.org/10.3390/vaccines10101625

DNA vaccine

การสร้างวัคซีนดีเอ็นเอ เกิดจากการนำยีนที่สร้างโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นแอนติเจนของเชื้อเข้าไปเชื่อมต่อกับเวคเตอร์ เพื่อใช้เวคเตอร์เป็นพาหะในการนำยีนเป้าหมายเข้าสู่ตัวสัตว์ โดยเมื่อเวคเตอร์ที่มียีนของเชื้อที่เราต้องการเข้าสู่เซลล์สัตว์แล้วก็จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ (Cellular response) มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันภายหลังจากฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียว และไม่ต้องใช้ร่วมกับ adjuvant DNA vaccine ควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคซิส เป็นวัคซีนที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันโรคสเตรปโตคอคโคซิส ด้วยเทคนิคการออกแบบด้วยวิธี reverse vaccinology และเชื่อมต่อกับเวคเตอร์ที่สามารถแสดงออกได้ในปลานิล จึงทำให้ปลานิลได้รับการกระตุ้นจากแอนติเจนและสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคได้ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับวัคซีนชนิดเชื้อตาย แต่ไม่ต้องใช้ร่วมกับ adjuvant

เอกสารอ้างอิง

Pumchan, S. Krobthong, S. Roytrakul, O. Sawatdichaikul, H. Kondo, I. Hirono, N. Areechon, and S. Unajak. 2020. Novel Chimeric Multiepitope Vaccine for Streptococcosis Disease in Nile Tilapia (Oreochromis niloticus Linn.). Scientific reports, 10(1), 603. https://doi.org/10.1038/s41598-019-57283-0 Chamtim P, Suwan E, Dong HT, Sirisuay S, Areechon N, Wangkahart E, Hirono I, Mavichak R and Unajak S (2022) Combining segments 9 and 10 in DNA and recombinant protein vaccines conferred superior protection against tilapia lake virus in hybrid red tilapia (oreochromis sp.) compared to single segment vaccines. Front. Immunol. 13:935480. doi: 10.3389/fimmu.2022.935480

Subunit protein/Recombinant protein

เป็นวัคซีนที่ทำด้วยส่วนประกอบโครงสร้างของเชื้อโรคส่วนที่กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือมีคุณสมบัติเป็นแอนติเจน โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโปรตีน แล้วจึงนำโปรตีนนั้นมาผลิตด้วยเทคนิคการผลิตโปรตีนลูกผสม (recombinant protein) ซึ่งให้ผลการคุมโรคสูงเทียบเท่าวัคซีนชนิดเชื้อตายโดยไม่ต้องใช้ร่วมกับ adjuvant
วัคซีนป้องกันโรค Tilapia lake virus เป็นวัคซีนที่ถูกพัฒนามาเพื่อป้องกันโรค TiLV โดยการใช้แอนติเจนของเชื้อ TiLV ถึง 2 ชนิดมาผลิตโปรตีนลูกผสม ช่วยป้องกันอัตราการตายได้มากกว่า 50%

เอกสารอ้างอิง

Chamtim P, Suwan E, Dong HT, Sirisuay S, Areechon N, Wangkahart E, Hirono I, Mavichak R and Unajak S (2022) Combining segments 9 and 10 in DNA and recombinant protein vaccines conferred superior protection against tilapia lake virus in hybrid red tilapia (oreochromis sp.) compared to single segment vaccines. Front. Immunol. 13:935480. doi: 10.3389/fimmu.2022.935480

Chimeric epitope vaccine

เป็นการออกแบบวัคซีนเพื่อใช้ในการควบคุมโรคโดยใช้ส่วนที่เป็น epitope ของแอนติเจนมาเรียงต่อกันแล้วเชื่อมด้วย linker ทำให้โปรตีนที่ถูกออกแบบจะทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนั้นๆได้ดีโดยไม่ต้องใช้ร่วมกับ adjuvant ซึ่ง Chimeric epitope vaccine สามารถนำมาใช้ผลิตได้ทั้งชนิด DNA vaccine และ recombinant vaccine เนื่องจากให้ผลการป้องกันโรคค่อนข้างสูง วัคซีนควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคซิส ชนิด DNA และ Recombinant protein ชนิด Chimeric epitope vaccine อาศัยแอนติเจน 5 ชนิดในการออกแบบวัคซีน ให้ผลใกล้เคียงกับวัคซีนชนิดเชื้อตาย

Oral Vaccine

ในการพัฒนาวัคซีนควบคุมโรคชนิดฉีด พบว่าจำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ในการฉีดมาก ทำให้ไม่สะดวกในการใช้งานจริง โดยเฉพาะเมื่อต้องการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลาที่ได้รับวัคซีนแล้ว บริษัทจึงได้ทำการพัฒนาระบบนำส่งวัคซีนในรูปแบบกิน (Oral administration) โดยอาศัยระบบนำส่งชนิดแร่ดินขาวเป็นตัวพา เพื่อเสริมประสิทธิภาพวัคซีนชนิดฉีด หรือสามารถให้ต่อเนื่องทดแทนวัคซีนชนิดฉีดได้ ทำให้เกิดความต่อเนื่องในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และเพิ่มความสะดวกให้แก่เกษตรกรในการใช้งานได้มากขึ้นวัคซีนควบคุมโรคสเตรปโตคอคโคซิส ชนิดกินจากผลการใช้วัคซีนชนิดกิน ผสมกับอาหารปลาในห้องทดลองพบว่า สามารถป้องกันโรคเสตรปโตคอคโคซิสได้เกิน 80% ซึ่งถ้านำไปใช้ในฟาร์ม จะมีความสะดวกต่อการใช้งานสำหรับเกษตรกร

เอกสารอ้างอิง

Pumchan, S. Krobthong, S. Roytrakul, O. Sawatdichaikul, H. Kondo, I. Hirono, N. Areechon, and S. Unajak. 2020. Novel Chimeric Multiepitope Vaccine for Streptococcosis Disease in Nile Tilapia (Oreochromis niloticus Linn.). Scientific reports, 10(1), 603. https://doi.org/10.1038/s41598-019-57283-0